คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยเข้าเฝือก ต้องระวังเฝือก แตกหัก หรือบุบ
เฝือก คือ อุปกรณ์ที่ใช้ดามกระดูกและข้อ เพื่อให้ส่วนที่ถูกหุ้มด้วยเฝือกนั้นอยู่นิ่ง แต่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายส่วนอื่น ๆ ที่อยู่นอกเฝือกได้ นอกจากนั้นการใส่เฝือกยังป้องกันเนื้อเยื่่อส่วนอื่นที่ได้รับบาดเจ็บ ลดอาการปวดบวม และส่งเสริมให้กระดูกที่หักติดกันดีดังเดิม
เผือกใช้เวลาแข็งตัวประมาณ 3-5 นาทีแต่ยังอยู่ในสภาพเปียกชื้น และบุบง่าย ต้องใช้เวลา 1-2 วัน จึงจะแห้งสนิท และแข็งตัว น้ำหนักเฝือกจะเบาลง ในระยะ 3 วันแรก หลังใส่เฝือก
ป้องกันเฝือกแตก หักหรือบุบใน
- วางเฝือกบนวัสดุนิ่มๆ เช่น หมอนหรือฟองน้ำ ไม่ควรวางบนพื้นแข็ง เช่น พื้นปูน เก้าอี้ ฯลฯ
- ประคองเฝือกในระหว่างที่เคลื่อนย้าย และลงเตียงอย่างระมัดระวัง
- อย่าให้เฝือกกระทบของแข็งบ่อย หลีกเลี่ยงการกดหรือบีบเฝือกเล่น
การดูแลเฝือกแห้งเร็ว
- ไม่ควรใช้ผ้าคลุมเฝือก ให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก
- การใช้พัดลมเป่า จะช่วยให้เฝือกแห้งเร็ว ห้ามนำเฝือกไปผิงไฟ หรือโดนน้ำเพิ่ม
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดจากการเข้าเฝือก
1. เฝือกหลวมเนื่องจากอวัยวะในเฝือกยุบบวมลง
2. เฝือกคับหรือแน่นเกินไป จากการบวมที่เกิดหลังเข้าเฝือก
3. การเข้าเฝือกนานเกินไป ทำให้ข้อติดยึด
4. การถอดเฝือกออกเร็วเกินไป โดยที่กระดูกยังไม่ติดกันดี ทำให้มีการเคลื่อนหลุดปลายกระดูกที่หัก อาจเกิดกระดูกติดผิดรูป ติดช้า หรือไม่ติด
คำแนะนำระหว่างเข้าเฝือก
1. ควรเกร็งกล้ามเนื้อที่อยู่ใต้เฝือกบ่อยๆ และเคลื่อนไหวส่วนที่อยู่ภายนอกเฝือก หรือ ข้อต่างๆที่อยู่ใกล้เคียง เช่น ใส่เฝือกขาควรกระดิกนิ้วเท้า และกล้ามเนื้อน่อง เป็นต้น
2. ห้ามตัด ทำลายเฝือก สำลี หรือวัสดุรองรับเฝือกออกเอง
3. อย่าให้เฝือกกระทบของแข็งบ่อย อย่ารับแรงกด จนแตก หรือยุบ เช่น เหยียบหรือวางบนพื้นแข็งโดยตรง
4. ห้ามทำให้เฝือกเปียกหรือโดนน้ำ ห้ามลนด้วยความร้อนเพื่อให้แห้ง
5. หากมีอาการคัน ไม่ควรใช้ไม้หรือสิ่งที่แตกหลุดง่ายใส่เข้าไปในเฝือกเพื่อเกา เพราะอาจเกิดแผลถลอก หรือติดเชื้อ แต่แนะนำให้ใช้แอลกอฮอล์หยอดในเฝือก หรือใช้สเปรย์แป้ง (Cast comfort spray) ฉีดเข้าไปแทน หรืออาจเกร็งขยับกล้ามเนื้อ จะช่วยลดอาการคันได้
6. ยกส่วนแขนหรือขาที่เข้าเฝือกให้อยู่เหนือระดับหัวใจเสมอ เพื่อช่วยให้เกิดการไหลเวียนโลหิตที่ดี
7. ควรมาพบแพทย์ตามนัดเสมอ
8. ถ้ามีอาการผิดปกติต่อไปนี้ให้รีบมาพบแพทย์ทันทีก่อนวันนัด
- ปวดบริเวณที่ใส่เฝือกมากขึ้น
- นิ้วมือหรือเท้า ข้างที่เข้าเฝือกมีสีเขียวคล้ำหรือ ซีด บวมมากขึ้น หรือ มีอาการชา
- มีเลือด น้ำเหลือง หรือ หนอง ไหลซึมออกมาจากเฝือก หรือ มีกลิ่นเหม็น
- ไม่สามารถขยับเขยื้อนนิ้วมือ หรือนิ้วเท้าข้างที่ใส่เฝือกได้
- มีวัสดุแปลกปลอมหลุดเข้าไปในเฝือก
- เฝือกหลวม แตกร้าว หรือ หลุด
ข้อควรปฏิบัติเมื่อถอดเฝือก
1. ทำความสะอาดผิวหนังบริเวณนั้นเบาๆ ด้วยสบู่และน้ำ อาจทาน้ำมันหรือโลชั่น เพื่อให้ผิวหนังชุ่มชื้น
2. เริ่มเคลื่่อนไหวข้อที่ถอดเฝือกออกทันทีที่ทำได้
3. ถ้ามีอาการบวมหลังจากเดินหรือทำกิจกรรม ควรยกแขน ขา ให้สูงกว่าลำตัว โดยให้วางบนหมอนและขยับข้อบริเวณใกล้เคียงบ่อยๆ เช่น ถ้าใส่เฝือกที่แขน กำ แบมือบ่อยๆ ใส่เฝือกที่ขาให้กระดกข้อเท้า ขึ้น ลง บ่อยๆ
4. ไม่ควรใช้งานเต็มที่จนกว่ากล้ามเนื้อจะแข็งแรงเหมือนเดิม
สเปรย์แป้ง ช่วยลดความอับชื้น และกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์สำหรับผู้ป่วยเข้าเฝือก ผสมสารที่มีประโยชน์คือ
- Triclosan และ Alcohol สารระงับเชื้อที่เป็นสาเหตุของอาการคัน (ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก)
- Tree tea oil สารสกัดจากธรรมชาติ มีกลิ่นหอม สะอาด ให้ความรู้สึกสดชื่น มีฤทธิ์ในการระงับเชื้อได้
- Menthol สารให้ความรู้สึกเย็นสบาย บริเวณที่เข้าเฝือก มีคุณสมบัติในการบรรเทาอาการคันได้ดี
- ผงแป้ง มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับแป้งเด็ก ช่วยลดความอับชื้น ลดการเสียดสีระหว่างผิวหนังและเฝือก
สนับสนุนข้อมูลโดย : ศูนย์กล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ (Musculoskeletal Center)
โรงพยาบาลนวเวช โทร. 02 483 9999 | www.navavej.com