ทดสอบวิเคราะห์ความผิดปกติ การนอนหลับ การนอนกรน

นอนกรน…ภาวะหยุดการหายใจขณะหลับ การนอนกรนหยุดหายใจ มีผลให้ร่างกายขาดออกซิเจน หัวใจทำงานหนักขณะนอนหลับ มีผลต่อสมาธิ ความจำ นำไปสู่การเกิดโรคอื่นๆ ได้อีกมากมาย หากมีอาการควรรีบปรึกษาแพทย์

 

การเตรียมความพร้อมก่อนเข้ารับบริการ ทดสอบวิเคราะห์ความผิดปกติการนอนหลับ Sleep Test 

การตรวจการนอนหลับ (Sleep test) เป็นการตรวจหาความผิดปกติของการนอนหลับในผู้ที่นอนกรน ผู้ที่มีอาการอุดกั้นของการหายใจ หรือเกร็งกระตุกขณะหลับ โดยการตรวจประกอบไปด้วย

  • การตรวจวัดคลื่นสมอง เพื่อวัดระดับความลึกของการนอนหลับ
  • การตรวจวัดการทำงานของกล้ามเนื้อขณะหลับ
  • การตรวจดูการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะหลับ
  • การวัดความอิ่มตัวของระดับออกซิเจนในเลือดแดงขณะหลับ
  • การตรวจวัดลมหายใจที่ผ่านเข้าออกจากจมูกและปาก ตลอดจนการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อหน้าอก และกล้ามเนื้อหน้าท้อง โดยข้อมูลเหล่านี้จะถูกบันทึกไว้ตลอดคืน เพื่อให้แพทย์ประเมินความรุนแรงของโรคต่อไป

ภาวะการนอนที่ผิดปกติ สังเกตได้ด้วยตัวคุณ หรือคนรอบข้าง โดยจะมีอาการรู้สึกนอนไม่อิ่ม หรืออ่อนเพลีย แม้จะนอนในชั่วโมงที่เพียงพอแล้ว ตื่นเช้าพร้อมอาการปวดศีรษะ ง่วงในเวลาที่ไม่ควร (เช่น ขับรถ) หงุดหงิด อารมณ์เสียง่ายกว่าปกติ ความจำสั้น สุขภาพไม่แข็งแรงในเด็ก เป็นต้น นอกจากนี้ หากเกิดภาวะการนอนที่มีภาวะหยุดหายใจในขณะนอนหลับร่วมด้วย จะสังเกตได้จากช่วงที่กรนเสียงดังและค่อยๆ สลับกันเป็นช่วง ๆ และหยุดหายใจไปชั่วขณะหนึ่ง ซึ่งหากเกิดต่อเนื่องจะส่งผลเสียต่อสุขภาพ เนื่องจากออกซิเจนในขณะหยุดหายใจจะลดต่ำลง เมื่อเกิดในผู้ที่มีอาการอื่น ๆ เช่น ความดันโลหิตสูง หรือหัวใจขาดเลือด อาจเกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

 

ข้อแนะนำ

การปฎิบัติตัวก่อนการตรวจ

  • งดรับประทานยานอนหลับ หรือดื่มกาแฟมากกว่าปกติในช่วง  2-3 วันก่อนตรวจ
  • งดดื่มสุรา และแอลกอฮอล์  1 วันก่อนการตรวจ
  • เข้านอน และตื่นนอนตามปกติอย่างน้อย  1 สัปดาห์ก่อนการตรวจ ไม่ควรอดนอน และหลีกเลี่ยงการนอนกลางวัน 1 วันก่อนการตรวจ
  • สระผมให้สะอาด งดใช้ครีมนวดผม และน้ำมันแต่งผมใดๆ ในวันที่ตรวจ (เนื่องจากจะมีการติดขั้วโลหะ  Electrode ที่ศีรษะ เพื่อวัดคลื่นสมอง) เจ้าหน้าที่จะนัดมายัง OPD ในเวลาประมาณ 17.00 น. และส่งต่อผู้ป่วยเพื่อทำการตรวจต่อไป

 

การปฎิบัติตัวระหว่างการตรวจ

  • เจ้าหน้าที่จะใช้เวลาในการติดอุปกรณ์ตรวจประมาณ  40-60 นาที ก่อนให้ผู้ป่วยนอน (สามารถนอนตะแคง หรือนอนหงายได้ตามปกติ)
  • สามารถเข้าห้องน้ำระหว่างคืนได้ โดยกดปุ่มสัญญาณเรียกเจ้าหน้าที่
  • ในการตรวจผู้ที่นอนกรนที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย แพทย์อาจจะให้ใช้เครื่องมือที่เรียกว่า CPAP (Continuous Positive Airway Pressure) ที่มีลักษณะเป็นหน้ากากดมออกซิเจนร่วมด้วย

 

การปฎิบัติตัวหลังตรวจ แพทย์จะนัดฟังผลการตรวจอีกครั้งประมาณ 1 สัปดาห์

 

ความเสี่ยงและผลข้างเคียงในการตรวจ ไม่มีความเสี่ยง หรือผลข้างเคียงจากการตรวจ แต่อาจมีกรณีที่ผู้เข้ารับการตรวจไม่เคยชินกับการเปลี่ยนสถานที่ในการนอน อาจทำให้นอนไม่หลับ หรือนอนหลับไม่สนิท ทำให้ไม่สามารถแปลผลตรวจได้

 

ศูนย์โรคระบบสมอง (Neurology Center)

 

โปรแกรม “Sleep Test” ประกอบไปด้วย

  • ค่าเครื่องตรวจวัดสภาพการนอนหลับ และค่าอุปกรณ์
  • ค่าเวชภัณฑ์ที่ใช้ในการตรวจวัดสภาพการนอน
  • ค่าห้องเดี่ยวทั้งคืน 12 ชั่วโมง (ตั้งแต่ 19.00 น. ถึงประมาณ 07.00 น.)
  • ค่าพยาบาลผู้ทำ Sleep Test 1 คืน
  • ค่าอาหาร 2 มื้อ และค่าบริการพยาบาล
  • ค่าแพทย์ และค่าบริการอ่านผล
  • ค่าบริการโรงพยาบาล
  • ค่าเครื่องช่วยหายใจ
  • วันนี้ - 31 ธันวาคม 2568

 

รายการที่ ไม่รวม อยู่ในโปรแกรม

  • ค่าแพทย์ที่ปรึกษา เพื่อประเมินก่อนวันนัดตรวจ
  • ค่าใช้จ่ายในการวิเคราะห์ต่าง ๆ เช่น ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ ค่าตรวจวัดทางรังสี เป็นต้น
  • ค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวข้องกับการตรวจวัดการนอน
  • ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นกรณีเข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยใน
  • ค่ายา และค่าเวชภัณฑ์สำหรับการนำกลับบ้าน
     

แพ็กเกจแนะนำ

ราคา 14,000 บาท

** หมดเขต 31 ธันวาคม 2568

-
+