เมื่อลูกถูก ไฟดูด ไฟช็อต….จะช่วยเหลือลูกได้อย่างไร

หากพบว่าลูกกำลังโดนไฟดูด เราคงตกใจจนทำอะไรไม่ถูก อันดับแรกให้ตั้งสติก่อน แล้วดูว่าเราจะช่วยได้อย่างไรบ้าง อย่าผลีผลามวิ่งไปดึงตัวผู้โดนไฟดูดเด็ดขาด เพราะเราจะโดนไฟดูดตามไปด้วย  และคงจะไม่ดีแน่ถ้าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นแล้วส่งผลกระทบต่ออวัยวะที่สำคัญๆ  เช่น หัวใจ ระบบประสาท และอวัยวะภายในต่างๆ ดังนั้นเราจึงควรเรียนรู้วิธีการป้องกันและวิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ขึ้นอีก

 

การปฏิบัติ และการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

  • ให้รีบสับคัตเอาท์ ตัดกระแสไฟให้เร็วที่สุดในบริเวณที่ลูกโดนไฟฟ้าดูด
  • อย่าช่วยหรือแตะตัวลูกที่กำลังโดนไฟดูดด้วยมือเปล่า เท้าเปล่า ควรหาผ้ามารองแทน
  • หาผ้าเช็ดตัวหรือผ้าห่มคลุมตัวลูกที่โดนไฟดูด จากนั้นช่วยลูกออกมาจากจุดเกิดเหตุให้เร็วที่สุด
  • ให้ทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้น /การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน (CPR) ก่อนส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด 
    - ให้เช็คดูว่าลูกหายใจอยู่ หรือหายใจเป็นปกติหรือไม่
    - ถ้าลูกไม่หายใจหรือหายใจช้าจนผิดปกติ ให้เริ่มทำการช่วยชีวิตด้วย CPR ทันที 
    - ถ้าลูกหายใจปกติ แต่มีแผลไหม้ ให้ถอดเสื้อผ้าออก ล้างแผลให้เย็นด้วยน้ำสะอาด พันแผลด้วยผ้าที่สะอาด จากนั้นนำส่งโรงพยาบาล

     

รู้ทัน …ป้องกันลูกจาก ไฟดูด ไฟไหม น้ำร้อนลวก ทุกเหตุการณ์สามารถป้องกันได้ 

  • อย่าทิ้งเด็กเล็ก ไว้ตามลำพัง
  • อย่าให้เด็กเล่นไม้ขีดไฟ
  • อย่าให้เด็กเล่นใกล้บริเวณเตาไฟ
  • ดึงปลั๊กไฟออกทุกครั้งเมื่อใช้เสร็จ
  • อย่าให้เด็กเข้าใกล้เมื่อต้มน้ำหรือรีดผ้า
  • อย่าวางกระติกน้ำร้อนในที่ที่เด็กคว้าง่าย ควรปิดฝาให้แน่นเสมอ
  • ไม่ควรวางกระติกน้ำ หม้อน้ำ หรือของร้อน บนผ้าปูโต๊ะที่เด็กดึงได้
  • ติดปลั๊กไฟให้สูง หรือมีอุปกรณ์ปิดป้องกัน ไม่ให้เด็กแหย่เล่น
  • ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าดูด เช่น เครื่องตัดกระแสไฟฟ้าอัตโนมัติ เบรกเกอร์ควบคุมไฟ

 

สนับสนุนข้อมูลโดย ศูนย์สุขภาพเด็ก (Children’s Health Center)