โรคที่มากับหน้าฝน

มักเกิดจากการเล่นน้ำฝน การเดินลุยน้ำ สัมผัสแหล่งน้ำขัง หรือ ดื่มน้ำที่มีการปนเปื้อน ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้

 

  • ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ - ไข้หวัด เป็นโรคติดเชื้อไวรัสในทางเดินหายใจ อาการทั่วไป คือ ไข้ ไอ เจ็บคอ น้ำมูกไหล ซึ่งมักหายได้เองใน 4-7 วัน ในขณะที่ไข้หวัดใหญ่ จะมีอาการที่รุนแรงกว่า คือ มีไข้สูง ปวดเมื่อยตามตัว ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก เยื่อบุตาแดง ซึ่งในกลุ่มเสี่ยงอาจมีการติดเชื้อลงปอดได้

     
  • โรคจากการติดเชื้อ RSV - อาการเริ่มแรกเหมือนไข้หวัดทั่วไป  คือ มีไข้ ไอ จาม น้ำมูกไหล หายเองได้ภายใน 5-7 วัน เด็กเล็กบางคนมีอาการมากกว่า คือ ไอมีเสมหะร่วม ไอมากจนอาเจียน อาจมีหายใจเร็ว แรง หายใจลำบาก หรือหายใจแบบมีเสียงวี๊ด (wheezing)

     
  • โรคไข้เลือดออก - มียุงลายเป็นพาหะนำโรค อาการช่วงแรกคล้ายกับติดเชื้อไวรัสทั่วไป คือ มีไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว อาจปวดกระดูกร่วมด้วย ไข้จะสูงได้ถึงประมาณ 3-4 วัน หลังจากไข้ลด อาจจะมีเลือดออกผิดปกติและช็อคได้ อาการที่ต้องเฝ้าระวัง หากมีอาการปวดท้อง ปัสสาวะน้อยลง กระสับกระส่ายหรือซึม มือเท้าเย็น หน้ามืด ควรรีบปรึกษาแพทย์

     
  • โรคปอดบวม ปอดอักเสบ - สาเหตุที่พบ ได้แก่ เชื้อนิวโมคอคคัส เชื้อฮีโมฟิลุส เชื้อไมโครพลาสม่า อาการคือ มีไข้ ไอ หอบเหนื่อย หายใจลำบากมีเสียงผิดปกติ เป็นอาการที่ต้องรีบปรึกษาแพทย์

     
  • โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน - สาเหตุเกิดจากการดื่มน้ำหรือกินอาหารที่มีการปนเปื้อนเชื้อโรค จะทำให้มีอาการท้องเสีย ถ่ายเหลวเป็นน้ำ อาจมีไข้ คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร หากติดเชื้อบิดอาจถ่ายมีมูกหรือเลือดปนอุจจาระได้

     
  • โรคมือปากเท้าเปื่อย (Hand foot mouth disease) - เกิดจากเชื้อไวรัส ติดต่อกันได้ทางไอ จาม น้ำลายหรืออุจจาระ การสัมผัสของเล่น อาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อ อาการของโรค คือ มีไข้ ผื่น ตุ่มน้ำใสตามฝ่ามือ ฝ่าเท้า ก้น มีแผลร้อนในหลายแผลในปาก มักหายได้เอง แต่ในบางรายอาจกินอาหารและน้ำไม่ค่อยได้เนื่องจากเจ็บปาก ทำให้เกิดภาวะขาดน้ำได้

  • โรคตาแดง - ส่วนใหญ่มักเป็นเชื้อไวรัส โดยเฉพาะ adenovirus มักเกิดพร้อมกับหวัดหรือการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ ติดต่อโดยตรงผ่านขี้ตาหรือน้ำตา ใช้สิ่งของร่วมกัน หายใจหรือไอจามรดกัน อาการของโรค คือ ตาแดง ปวดเล็กน้อยในเบ้าตา คันตา เคืองตา รู้สึกเหมือนมีสิ่งแปลกปลอมในดวงตา น้ำตาไหล  เปลือกตาบวม อาจพบตุ่มเล็ก ๆ กระจายอยู่ทั่วไป

 

 

การดูแลตนเองเบื้องต้น

1. สวมหน้ากากอนามัยและล้างมือบ่อย ๆ

2. หลีกเลี่ยงการไปสถานที่แออัด แหล่งชุมชน

3. ทานอาหารปรุงสุกใหม่ ถูกสุขอนามัย

4. ตรวจสุขภาพประจำปี และฉีดวัคซีนป้องกัน ตามแพทย์แนะนำ

5. หากมีอาการเจ็บป่วย ไข้สูง ให้รีบปรึกษาแพทย์

 

สนับสนุนข้อมูลโดย : พญ.สิริรักษ์ กาญจนธีระพงค์  

กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกันวิทยา ศูนย์สุขภาพเด็ก (Children's Health Center) โทร. 0 2483 9999

 

คลิก > วัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออก 2 เข็ม 

 

คลิก > วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธ์ุ

 

คลิก > วัคซีนป้องกันโรคมือ เท้า ปาก

 

คลิก > วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบในเด็ก