ทำความรู้จักโรคหัวใจ (Heart Disease) โรคหัวใจห้ามกินผลไม้อะไร
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขได้เปิดเผยว่า โรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของคนไทย โดยมีจำนวนมากถึงปีละ 7 หมื่นราย และพบว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกกลุ่มวัย โดยโรคหัวใจ (Heart Disease) มีความหมายถึงโรคที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจ ซึ่งโรคหัวใจนี้สามารถแบ่งย่อยออกมาได้หลายโรค เช่น เส้นเลือดหัวใจตีบ โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ โรคกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง โรคลิ้นหัวใจตีบ/รั่ว โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด เป็นต้น ซึ่งแต่ละโรคจำเป็นต้องได้รับการตรวจอย่างละเอียด เพื่อการวินิจฉัยที่แม่นยำ สาเหตุการเกิดโรคหัวใจนั้นมีหลากหลายประเด็น และในผู้ป่วยบางรายก็ไม่พบสาเหตุที่แน่ชัด โดยโรคหัวใจบางกลุ่มมีปัจจัยเสี่ยง ซึ่งบางปัจจัยสามารถป้องกันได้ ดังนี้
ปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจ
1. อายุ พบว่าคนเป็นโรคหัวใจมักจะพบได้เมื่ออายุ เกิน 40 ปี ขึ้นไป แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบัน อายุของผู้ป่วยโรคหัวใจพบว่าน้อยลงเรื่อยๆ อาจพบได้ตั้งแต่ อายุ 30-40 ปี
2. ประวัติโรคหัวใจและหลอดเลือดในครอบครัว พบว่าหากมีสมาชิกสายตรงในครอบครัวมีประวัติโรคหลอดเลือดหัวใจตั้งแต่อายุยังน้อย (เพศชายอายุน้อยกว่า 55 ปี, เพศหญิงอายุน้อยกว่า 65 ปี)จะทำให้มีความเสี่ยงมากขึ้นและควรได้รับการตรวจสุขภาพเพื่อป้องกันแต่แรก
3. เพศ พบว่าเพศชายจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจมากกว่าเพศหญิง อย่างไรก็ตามพบว่าเพศหญิงจะมีความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจเพิ่มขึ้นเมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน
4. ความดันโลหิตสูง ภาวะความดันโลหิตสูงเป็นภัยเงียบที่จำเป็นต้องได้รับการตรวจและคุมความดันให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม (ค่าปกติ ความดันตัวบนไม่ควรเกิน 120 มิลลิเมตรปรอท และความดันตัวล่างไม่ควรเกิน 80 มิลลิปรอท)
5. ไขมันในเลือดสูง สามารถทราบได้จากการตรวจเลือดหาระดับไขมันในหลอดเลือด โดยเฉพาะผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวมีภาวะไขมันในเลือดสูง
6. เบาหวาน คือภาวะที่มีน้ำตาลในหลอดเลือดสูง เกิดจากร่างกายดื้อต่ออินซูลิน หากร่างกายมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเป็นระยะเวลานานจะทำให้ผนังหลอดเลือดเสื่อม เป็นสาเหตุของโรคหัวใจและหลอดเลือดในภายหลังได้ การเป็นโรคหัวใจห้ามกินผลไม้อะไรก็สำคัญเหมือนกัน
7. การสูบบุหรี่ ทำให้มีความเสี่ยงของโรคหัวใจขาดเลือด และหัวใจวายเฉียบพลันมากขึ้น
8. ภาวะน้ำหนักเกินหรือดัชนีมวลกายที่มากกว่าเท่ากับ 30
9. การใช้สารเสพติดบางชนิด เนื่องจากสารบางชนิดอาจมีการกระตุ้นการทำงานหัวใจอย่างหนัก ทำให้เกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลันได้
10. การดำเนินชีวิตประจำวัน (Lifestyle) พบว่าหากในชีวิตประจำวันไม่ค่อยได้มีการเคลื่อนไหวร่างกาย(sedentary lifestyle) และมีความเครียด จะทำให้มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจมากขึ้น
11. ผู้ที่มีประวัติโรคหัวใจของสมาชิกสายตรงในครอบครัว เนื่องจากโรคหัวใจบางชนิดสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนาตัว, โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิด, โรคไขมันในหลอดเลือดสูง
ใครที่ควรได้รับการตรวจโรคหัวใจ
การตรวจคัดกรองโรคหัวใจมีความจำเป็นเนื่องจากจะสามารถทำให้เราทราบปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจเบื้องต้นได้ ทราบได้ด้วยว่าโรคหัวใจห้ามกินผลไม้อะไร โดยกลุ่มที่แนะนำว่าควรได้รับการตรวจการทำงานของหัวใจมีดังนี้
- ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคหัวใจ หรือโรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ รวมถึงหลอดเลือดสมอง
- ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง มีระดับไขมันสูง เป็นต้น
- มีสัญญาณเตือนจากอาการที่เกิดขึ้น เช่น เจ็บหน้าอก เหนื่อยง่ายผิดปกติ ใจสั่น หายใจลำบาก หัวใจเต้นผิดจังหวะ
- ผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป ควรเข้ารับการตรวจหัวใจเนื่องจากมีความเสี่ยงสูง
- นักกีฬา หรือผู้ที่ต้องใช้พละกำลังในการแข่งขัน เพื่อประเมินอัตราการเต้นของหัวใจที่เหมาะสม
- กลุ่มคนที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกายหรือมีความเครียดสะสมเป็นเวลานนาน