เป็นภูมิแพ้ต้องระวัง! ถูกกระตุ้นจากฝุ่น PM 2.5 รบกวนร่างกาย
ฝุ่น PM 2.5 (ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 µm) ขนาดเล็กมากซึ่งเล็ดลอดจากการกรองที่จมูก ผ่านเข้าสู่ปอดและหลอดเลือดได้ ผลกระทบเกิดจากการหลั่งสารอักเสบที่มากขึ้น จากการเกิดสารอนุมูลอิสระลดระบบ Anti-Oxidant และรบกวนสมดุลของร่างกาย ทำอันตรายต่อเนื้อเยื่อต่าง ๆ ในร่างกาย
1. ฝุ่น PM 2.5 มีผลต่อโรคภูมิแพ้อย่างไรบ้าง
- ระบบทางเดินหายใจ
ส่วนบน : โพรงจมูกอักเสบ / เยื่อบุตาอักเสบ
ส่วนล่าง : โรคหลอดลม / โรคหอบหืด
- ระบบผิวหนัง : ผื่นคันตามตัว แสบระคายเคือง ลมพิษ (ทำให้ผิวแพ้ง่าย) และทำร้าย Cell ผิวทำให้แก่ก่อนวัย
- เยื่อบุตา
2. ส่งผลต่อโรคเรื้อรังอื่นๆด้วย
- ระบบไหลเวียนโลหิต หลอดเลือด และหัวใจเรื้อรัง กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
- โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง ถุงลมโป่งพอง มะเร็งปอด
- หญิงตั้งครรภ์ ทำให้ทารกเกิดน้ำหนักน้อย เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด และแท้งบุตรได้
3. การตรวจวินิจฉัย การทดสอบภูมิแพ้ทำอย่างไร
- การวินิจฉัยอาการจากฝุ่น PM 2.5 เป็น Clinical เพราะฝุ่น PM 2.5 เป็นสารก่อระคายเคือง การวินิจฉัยตามอาการ อาการแสดง และความเสี่ยงสัมผัสของแต่ละบุคคล
- เครื่องมือในการทดสอบภูมิแพ้ เช่น SPT หรือ Specific IgE ใช้ตรวจวินิจฉัยกลุ่มอาการโรคภูมิแพ้จากสารก่อภูมิแพ้ เช่น ไรฝุ่น (ขนาด 5 µm) ขนสัตว์ (DOG, CAT) แมลงสาป ละอองหญ้า และเชื้อรา
- SPT, Blood test for Specific IgE
4. วิธีการรักษา : เน้นหลีกเลี่ยง Avoidance การสัมผัส และรักษาตามอาการประคับประคอง Supportive
- ล้างจมูก
- ใช้ยารักษา
- แต่ถ้าเป็นโรคภูมิแพ้ ในปัจจุบันมีการรักษาที่ดียิ่งขึ้น โดยสามารถรักษาให้หายขาดได้ คือ Immunotherapy หรือวัคซีนรักษาภูมิแพ้
5. การป้องกันฝุ่น PM 2.5 ทำอย่างไร
การใส่หน้ากากอนามัย
- หน้ากากที่ป้องกันได้ประสิทธิภาพสูงสุด “ N95” ซึ่งราคาสูง แต่สวมแล้วอาจจะอึดอัด หายใจลำบาก และอาจไม่เหมาะสมกับเด็ก
- อาจใช้หน้ากากที่มีกรอง 3 ชั้น หรือหน้ากากอนามัยธรรมดา สวมทับ 2 ชั้น หรือซ่อนทิชชู่แผ่นกรองไว้ด้านในแทนพอได้
การร่วมมือกันช่วยลดการเกิดฝุ่น PM 2.5 โดยการลดการเผาไหม้ การผลิตไม่ได้คุณภาพ การคมนาคมแออัด
ระยะยาว
- ปรับปรุงคุณภาพอากาศ (ระบายอากาศ และทำความสะอาด)
- ติดตั้งอุปกรณ์ลดฝุ่น (เครื่องฟอกอากาศ)
- ปลูกต้นไม้ช่วยลดมลพิษ
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ Vitamin C, Vitamin E, Omega-3 (ปลา)
สนับสนุนข้อมูลโดย : พญ.สิริรักษ์ กาญจนธีระพงค์
กุมารแพทย์เฉพาะทางโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกันวิทยา