การดูแลตัวเองและคนใกล้ชิดให้ห่างไกลจาก Covid -19 และอาการ Long Covid ที่พบบ่อย
6 วิธีดูแลสุขภาพ ช่วงโควิด
1. เว้นระยะห่างทางสังคม (Social safety) ควรปฎิบัติตามมาตรการอย่างเคร่งครัด ด้วยการอยู่ห่างจากคนอื่นอย่างน้อย 1-2 เมตร
2. หลีกเลี่ยงกิจกรรมเสี่ยง (Activity safety) ช่วงนี้ควรอยู่บ้านลดกิจกรรมเสี่ยงทุกประเภท ทั้งการเดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยงและหลีกเลี่ยงพบปะกับกลุ่มบุคคลที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อ รวมไปถึงเลี่ยงการสัมผัสจุดเสี่ยง เช่น ปุ่มกดลิฟท์ บันไดเลื่อน ใบหน้าตนเอง
3. รับประทานอาหารอย่างปลอยภัย (Food safety) ควรรับประทานอาหารอย่างถูกสุขลักษณะ อาหารอุ่นร้อนและใช้ภาชนะแยกเฉพาะ แยกสำรับกันรับประทานเพื่อความปลอดภัย รวมไปถึงเลือกซื้ออาหารจากร้านที่ถูกหลักสุขาภิบาลอาหาร
4. รับประทานผลไม้อย่างถูกวิธี (Fruit safety) ควรปอกเปลือกผลไม้ และล้างให้ถูกวิธีด้วยการเปิดก๊อกน้ำไหลผ่าน เกิน 5 นาที หรือแช่เบคกิ้งโซดา แช่น้ำด่างทับทิม ฆ่าเชื้อโรคก่อนกินหรือปอกเปลือกผลไม้
5. ล้างมือให้สะอาด (Hand safety) เน้นย้ำให้ล้างหน้าบ่อยๆ ด้วยน้ำสะอาด ฟอกสบู่เกิน 20 วินาที หรือ ใช้เจลแอลกอฮอล์ที่มีความเข้มข้นอย่างต่ำ 70% ขึ้นไป ควรล้างก่อนและหลังรับประทานอาหาร ก่อนและหลังเข้าบ้าน หรือ สัมผัสใบหน้า
6. สวมหน้ากากอนามัยป้องกัน (Mark safety) ควรสวมใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้ง หากต้องออกไปพบปะผู้อื่นและไม่ควรเอามือไปสัมผัสหน้ากากอนามัยขณะที่สวมใส่

6 วิธีดูแลตัวเองและคนใกล้ชิด ให้ห่างไกล Covid-19 และโรคทางเดินหายใจจากไวรัสต่างๆ
1. ล้างมือให้บ่อย ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ (อย่างน้อย 20 นาที)
2. หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ผู้ป่วยที่ไอจาม หากเลี่ยงไม่ได้ ให้ใส่หน้ากากอนามัย
3. ไม่ขยี้ตา แคะจมูก ไม่ใช้มือจับตา ปาก และจมูก โดยที่ยังไม่ได้ล้างมือให้สะอาด
4. ออกกำลังกายเป็นประจำ และพักผ่อนให้เพียงพอ
5. เมื่อมีอาการป่วย สวมหน้ากากอนามัย พักที่บ้าน แยกตัว หากไม่ดีขึ้นหรือมีโรคประจำตัวให้ปรึกษาแพทย์
6. ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ หากเป็นกลุ่มเสี่ยง

6 อาการหลงเหลือ ของ “Long Covid
1. อ่อนเพลียเรื้อรัง ปวดหัวหรือเวียนศีรษะ
2. ใจสั่น หายใจไม่อิ่ม แน่นอก
3. ปวดตามข้อ รู้สึกจี๊ดๆ ตามตัว หรือปลายมือ-เท้า
4. นอนไม่หลับ สมองไม่สดชื่น ความจำไม่ดี
5. รู้สึกมีไข้ตลอดเวลา
6. ซึมเศร้า วิตกกังวล

Long Covid คืออะไร อาการเป็นอย่างไร? ลองโควิด (Long Covid) คือ ภาวะของคนที่หายจากโควิด-19 แล้ว แต่ยังมีอาการ ต้องเผชิญกับอาการที่หลงเหลืออยู่ แม้เชื้อโควิด-19 จะหายไปจากร่างกายแล้ว แต่อาการบางอย่างก็ไม่ได้หายไปด้วย
กลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นภาวะ Long Covid
- ผู้ป่วยที่เคยติดเชื้อโควิด-19 และมีภาวะปอดอักเสบรุนแรง
- เพศหญิงมีความเสี่ยงกว่าเพศชาย
- ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป
- ผู้ป่วยที่มีภาวะอ้วน
- ผู้ที่มีโรคประจำตัว
10 อาการ Long Covid ที่พบบ่อย
- อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
- ปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อ
- มีไข้ ไอเรื้อรัง เจ็บคอ
- หายใจถี่หอบเหนื่อย
- รับรสได้กลิ่นน้อยลง
- ปวดหัว สมาธิสั้น
- ใจสั่น แน่นหน้าอก
- นอนไม่หลับ หลับยาก
- มีภาวะวิตกกังวล ซึมเศร้า
- ท้องเสีย ท้องอืด
แนวทางการฟื้นฟูจากภาวะลองโควิด ปรึกษาแพทย์เพื่อรักษาตามอาการ ดูแลสุขภาพทั้งการกิน การพักผ่อน การออกกำลังกาย
ผลกระทบระยะยาวต่อสุขภาพของผู้ที่เคยป่วยเป็นโควิด-19
ผลกระทบระยะยาวต่อสุขภาพจากโควิด-19 หรือ ภาวะ Long Covid เป็นอาการที่เกิดขึ้นใหม่หรือต่อเนื่องภายหลังการติดเชื้อโควิ-19 ตั้งแต่ 3 เดือนนับจากวันที่ตรวจพบเชื้อ และมีอาการอยู่นานอย่างน้อย 2 เดือน เกิดขึ้นได้หลายระบบ และอาการที่เกิดขึ้นไม่สามารถอธิบายได้ด้วยการวินิจฉัยอื่นๆ จากการสำรวจผลกระทบระยะยาวต่อสุขภาพของผู้ที่เคยป่วยเป็นโควิด-19-ของกรมการแพทย์ อาการที่พบได้บ่อยมีดังนี้
- ระบบประสาท อ่อนแรงเฉพาะเฉียบพลัน ปวดศีรษะ มึนศีรษะ หลงลืม กล้ามเนื้อลีบ
- ระบบผิวหนัง ผมร่วง ผื่นแพ้
- ระบบทั่วไป อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดตามข้อ
- ระบบทางจิตใจ นอนไม่หลับ วิตกกังวล ซึมเศร้า
- ระบบหัวใจและหลอดเลือด เจ็บหน้าอก ใจสั่น
- ระบบทางเดินหายใจ หอบเหนื่อย ไอเรื้อรัง
อาการผิดปกติดังกล่าวส่วนใหญ่หายได้เอง หากผู้ป่วยมีอาการต่อเนื่องนานกว่า 2 เดือน ควรพบแพทย์ที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน หรือโรงพยาบาลที่เคยรักษาโควิด-19

คลิก > โปรแกรมตรวจสุขภาพ สำหรับผู้ที่เคยติดเชื้อ Long Covid-19