ไขข้อข้องใจกับไวรัสตับอักเสบเอ (hepatitis A virus)

โรคไวรัสตับอักเสบเอ คืออะไร โรคที่เกิดจากการติดเชื้อ ไวรัสตับอักเสบเอ ซึ่งติดต่อกันได้ง่าย ทำให้เกิดการอักเสบเฉียบพลันของตับ โดยระดับความรุนแรงมีได้ตั้งแต่ มีอาการเพียงเล็กน้อย ไปจนถึง ตับอักเสบเฉียบพลันรุนแรง โดยทั่วไปโรคสามารถหายเองได้จนเป็นปกติ ภายใน เดือน

 

ติดต่อกันอย่างไร ทางไหนบ้าง เชื้อไวรัสตับอักเสบเอ มักติดต่อผ่านทางการกินอาหารและน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อนี้เข้าไป โดยอาจติดต่อผ่านทางอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อ หรือ ผ่านทางคนทำอาหารที่ติดเชื้อ แล้วรับเชื้อผ่านทางการกินอาหารนั้น นอกจากนี้เชื้อไวรัสตับอักเสบเอ ยังสามารถติดต่อผ่านการสัมผัสใกล้ชิด กับผู้ติดเชื้อได้อีกด้วย

 

อาการเป็นอย่างไร โรคนี้รุนแรงหรือไม่ เมื่อได้รับเชื้อ บางคนไม่แสดงอาการของโรค แต่หากมีอาการ จะเริ่มมีอาการได้ประมาณ 2-7 สัปดาห์หลังได้รับเชื้อ โดยอาการของโรคมีได้ดังนี้

  • ตัวเหลือง ตาเหลือง
  • เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย
  • ปวด จุกแน่นท้อง ใต้ชายโครงขวา
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ไข้ ปวดหัว ปวดเมื่อยตัว
  • ถ่ายเหลว

 

 

 

ใครบ้างที่มีความเสี่ยงต่อโรคนี้ ถึงแม้ว่า ประเทศไทย ถือเป็นหนึ่งในประเทศที่พบเชื้อนี้ได้บ่อยๆ (highly endemic area) และในผู้ใหญ่ส่วนใหญ่ มักจะตรวจพบว่ามีภูมิต่อเชื้อนี้แล้ว แต่คนบางกลุ่มอาจจะมีความเสี่ยง ต่อการเกิดโรคมากกว่าคนทั่วไป ได้แก่ ผู้ที่ต้องสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคนี้ ผู้ที่ต้องอยู่ในสถานที่มีคนอยู่อย่างหนาแน่น เช่น สถานเลี้ยงเด็ก สถานพักฟื้น ชุมชนแออัด นอกจากนี้ ยังมีผู้ป่วยบางกลุ่มที่อาจมีอาการรุนแรงมากกว่าคนทั่วไปหากได้รับเชื้อ ได้แก่ ผู้ป่วยที่มีโรคตับเรื้อรัง และผู้ป่วยที่มีเชื้อ HIV 

 

การวินิจฉัยและการรักษา แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคไวรัสตับอักเสบเอ ด้วยการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อ ไวรัสตับอักเสบเอ เพื่อเป็นการยืนยันการวินิจฉัย 

นอกจากนี้ แพทย์อาจพิจารณาตรวจการทำงานของตับเพิ่มเติม เพื่อดูความรุนแรงของตับอักเสบด้วย การรักษาโรคไวรัสตับอักเสบเอ ส่วนใหญ่เป็นการรักษาตามอาการ และติดตามค่าการทำงานของตับอย่างใกล้ชิดในกรณีมีตับอักเสบรุนแรง โรคมักจะหายเป็นปกติ ภายในเดือน และโดยทั่วไปจะไม่เกิดตับอักเสบเรื้อรัง

 

การป้องกันโรค และ การฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบเอ การป้องกันโรคที่ทำได้ง่ายที่สุด คือ การกินอาหารปรุงสุก สะอาด และใช้ช้อนกลาง หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบเอ ล้างมือเป็นประจำ หลังเข้าห้องน้ำ และก่อนสัมผัสอาหารที่จะปรุง หรืออาหารที่จะรับประทาน  อย่างไรก็ตาม การป้องกันโรคที่ดีที่สุด คือ การฉีดวัคซีน หากยังไม่มีภูมิคุ้มกันโรคไวรัสตับอักเสบเอ โดยก่อนการฉีดวัคซีน แพทย์จะให้ตรวจหาภูมิคุ้มกันต่อโรคนี้ก่อน หากยังไม่มีภูมิ จึงจะฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบเอ โดยฉีดทั้งหมด เข็ม ห่างกัน เดือน

 

ใครบ้างที่ควรได้รับวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบเอ เด็กที่อายุเกิน ขวบ หรือ ผู้ใหญ่ที่ยังไม่มีภูมิต่อโรคนี้ สามารถฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบเอได้ และควรฉีดวัคซีนในกลุ่มคนที่อาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่รุนแรง ได้แก่ ผู้ที่มีตับอักเสบเรื้อรัง หรือ ตับแข็ง ผู้ที่ดื่ม alcohol เป็นประจำ ผู้ที่มีเชื้อ HIV 

 

 

สนับสนุนข้อมูลโดย : พญ.จิตราภา แสนโภชน์

แพทย์เฉพาะทางด้านอายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหาร ศูนย์ระบบทางเดินอาหาร