เทคนิคการผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้องแบบแผลเล็ก (MISS)
ปัจจุบันเทคโนโลยีการผ่าตัดกระดูกสันหลังได้พัฒนาขึ้นมาก เพื่อเพิ่มคุณภาพการรักษา ทั้งขนาดแผล ความเจ็บ ความปลอดภัย และระยะเวลาพักฟื้น เรียกว่าเทคนิคการผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้องแบบแผลเล็ก หรือ Minimally Invasive Spine Surgery (MISS)
MISS คือการผ่าตัดรักษาอาการปวดหลัง โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ผู้ที่โพรงประสาทสันหลังตีบแคบ หมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทจากความเสื่อมตามอายุ โดยแพทย์จะใช้เทคนิคการผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้องแบบแผลเล็ก (MISS) มาช่วยในการผ่าตัด โดยการผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้องแบบแผลเล็ก (MISS) อาจจะใช้กล้อง Endoscope หรือกล้อง Microscope เเละ tubular และอุปกรณ์ Microsurgery มาช่วยในการผ่าตัด ทำให้ผู้ป่วยได้รับประโยชน์จากการผ่าตัด ได้มากกว่าการผ่าตัดกระดูกสันหลังแบบเทคนิคเดิม ที่ช่วยลดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด ลดการบาดเจ็บ เสียเลือดน้อย และฟื้นตัวได้เร็ว ในปัจจุบันการผ่าตัดแบบแผลเล็กเป็นวิธีที่แพร่หลายและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในกลุ่มศัลยแพทย์ระบบประสาทและศัลยแพทย์กระดูกทั่วโลก
เทคนิคการผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้องแบบแผลเล็ก (MISS) ผู้ป่วยจะได้ประโยชน์ในหลายด้านดังต่อไปนี้
การผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้องแผลเล็ก (MISS) | การผ่าตัดกระดูกสันหลังแบบเทคนิคเดิม |
1. แผลผ่าตัดมีขนาดเล็ก อาจเล็ก 1-2 เซนติเมตร 2. เสียเลือดน้อย 3. ปวดแผลผ่าตัดน้อยกว่า 4. ลดการบาดเจ็บ ลดการฟกช้ำ ของกล้ามเนื้อบริเวณโดยรอบแผลผ่าตัด 5. ฟื้นตัวเร็ว กลับบ้านได้ใน 2 – 3 วัน หลังผ่าตัด 6. ลดโอกาสแผลติดเชื้อ |
1. แผลผ่าตัดมีขนาดใหญ่ 2. เสียเลือดมาก 3. ปวดแผลมาก เนื่องจากแผลผ่าตัดขนาดใหญ่ 4. กล้ามเนื้อและอวัยวะใกล้เคียงฟกช้ำ ได้รับการบาดเจ็บจากการผ่าตัด 5. พักฟื้นนาน นอน รพ. หลายวัน 6. แผลมีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย |
เทคนิคการผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้องแผลเล็ก (MISS) ช่วยให้ผู้ป่วยกลับบ้านได้เร็ว และลดภาวะแทรกซ้อนในการผ่าตัด ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นหลังผ่าตัดเร็ว อาการปวดแผลหลังผ่าตัดน้อยและมีความพึงพอใจในการรักษาโดยวิธีนี้อย่างมาก
การผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้องแบบแผลเล็ก ปัจจุบันมี 2 วิธีดังนี้
- Endoscopic Discectomy คือ การผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้องที่พัฒนาการผ่าตัดอีกขั้น โดยการผ่าตัดผ่านกล้อง Endoscope แผลผ่าตัดมีขนาดเล็ก 0.8 เซนติเมตร เพียงแผลเดียว (Single Portal) จากทางด้านข้างหรือด้านหลัง โดยมีระบบน้ำหล่อเลี้ยงตลอดเวลา และมีการใช้เครื่องช่วยจี้หยุดเลือดขณะที่แพทย์ทำการผ่าตัด เพื่อให้แพทย์มองเห็นภาพชัดเจน ผ่านจอ Monitor ด้วยชุดเครื่องมือการผ่าตัดแบบเฉพาะ ที่เห็นภาพชัดเจนทั้งแสง และการขยายภาพ (Excellent Magnification and Vision)
ใครที่เหมาะกับการผ่าตัดด้วยวิธี Endoscopic
- ผู้ป่วยโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
- ผู้ป่วยโรคโพรงประสาทตีบแคบทับเส้นประสาท จากภาวะเสื่อมของกระดูกสันหลัง ข้อต่อ และหมอนรองกระดูก
ข้อดีของการผ่าตัด Endoscopic
- ผ่าตัดภายใต้การมองเห็นที่ชัดเจนทั้งแสงและการขยายภาพ
- ลดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ กล้ามเนื้อ และกระดูก
- แผลผ่าตัดขนาดเล็ก เจ็บน้อย เสียเลือดน้อย ลดเวลาในการนอนโรงพยาบาล
- ลดการเกิดแผลเป็นในโพรงกระดูกสันหลัง ไม่มีพังผืดรัดเส้นประสาท
Microscope Discectomy
คือการผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง Microscope หรือ กล้องจุลทรรศน์ วิธีนี้เป็นการผ่าตัดรักษาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ซึ่งตัวกล้องจะอยู่นอกตัวของผู้ป่วยแต่จะทำหน้าที่ช่วยขยายภาพในบริเวณที่เราจะทำการผ่าตัดให้ใหญ่ขึ้น โดยการผ่าตัดวิธีนี้ยังคงเป็นการผ่าตัดแบบเปิด แต่แผลผ่าตัดมีขนาดเล็กลง เพียง 3 เซ็นติเมตร แต่ยังคงมีการตัดเลาะกล้ามเนื้อ และกระดูกออกบางส่วน เพื่อให้เห็นบริเวณที่ต้องการผ่าตัดชัดเจนขึ้น ปัจจุบันก็มีผู้คิดค้นเพื่อที่จะทำให้ลดขนาดของแผลผ่าตัดลงไปได้อีก
สนับสนุนข้อมูลจาก นพ.เทวเจษฎา ภาเรือง
แพทย์หัวหน้าศูนย์กระดูกสันหลังและกระดูกคอ โรงพยาบาลนวเวช