การรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะด้วย EPS WITH RFA คืออะไร

EPS (Electrophysiology Study) คือ การตรวจสรีระวิทยาไฟฟ้าหัวใจ และการจี้ไฟฟ้าหัวใจด้วยคลื่นความถี่วิทยุ (Radiofrequency Ablation) หรือ RFA เป็นพัฒนาการของเทคโนโลยีทางการแพทย์เพื่อใช้ตรวจ และรักษาภาวะโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โดยการใช้คลื่นวิทยุไฟฟ้า แทนการผ่าตัดเปิดช่องอก ทำให้ลดการเสียเลือดในการผ่าตัด ลดการติดเชื้อ และสามารถพักฟื้นได้ไว   

 

EPS WITH RFA คืออะไร ช่วยตรวจหาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะได้อย่างไร

  

  • การตรวจสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ (Electrophysiology  studies) หรือ EPS คือ การตรวจสัญญาณ และการนำไฟฟ้าในหัวใจ ว่ามีความผิดปกติตรงส่วนไหน การตรวจจะใช้หลอดฉายภาพเอกซเรย์ และสายรับสัญญาณหัวใจในการตรวจ

     
  • การจี้ไฟฟ้าหัวใจ ด้วยคลื่นความถี่วิทยุ (Radiofrequency ablation) หรือ RFA คือ การจี้ไฟฟ้าหัวใจ โดยไม่ต้องเปิดช่องอก แต่จะใช้คลื่นความถี่วิทยุในการทำหัตถกรรรม  นอกจากนี้ RFA สามารถตัดเนื้อเยื่อมะเร็ง ตามอวัยวะต่างๆได้

 

EPS WITH RFA มีวิธีการอย่างไร   

 

  • EPS มีวิธีการ คือ การใช้แผ่นรับสัญญาณติดไว้ที่หน้าอกของผู้เข้ารับการตรวจ เพื่อตรวจอัตราการเต้นของหัวใจ และสอดสายเข้าไปในร่างกาย เพื่อที่หัวใจจะส่งสัญญาณกลับมา ระหว่างนั้นแพทย์จะกระตุ้นหัวใจ ด้วยกระแสไฟฟ้า และนำมาวินิจฉัย
     
  • RFA มีวิธีการ คือ การสอดสายอิเล็กโทรด ที่ต้นขาผ่านหลอดเลือดแดง และผ่านหลอดเลือดดำที่ลำคอ หรือไหปลาร้า ปล่อยคลื่นความถี่วิทยุตัดเนื้อเยื่อที่เป็นสาเหตุของของภาวะโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ผ่านปลายสายอิเล็กโทรด หลังจากนั้นจึงนำผลไปส่วนประกอบในการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะหรือไม่

 

การเตรียมตัวก่อน - หลังเข้ารับการรักษา ESP WITH RFA 

 

  • ผู้เข้ารับการรักษาจะต้องแจ้งแพทย์ เกี่ยวกับโรคประจำตัว และการแพ้ยาที่เกี่ยวกับโรคหัวใจ
     
  • งดน้ำ งดอาหาร 6 ชั่วโมง ก่อนเข้ารับการรักษา
     
  • ผู้เข้ารับการรักษาต้องพักที่โรงพยาบาล 1 คืน ก่อน และหลังการเข้ารับรักษา
     

  

สนับสนุนข้อมูลโดย พญ.ณหทัย ฉัตรสิงห์ 

แพทย์เฉพาะทางอายุรศาสตร์โรคหัวใจ  

 

คลิก > โปรแกรมตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Echocardiogram)