การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ Electrocardiography : EKG

เป็นเครื่องมือตรวจหัวใจเบื้องต้น มีประโยชน์ในการคัดกรองความผิดปกติหัวใจเบื้องต้น การตรวจนี้ไม่ก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้เข้ารับการตรวจและค่าใช้จ่ายไม่สูง ขณะตรวจผู้เข้ารับการตรวจจะอยู่ในท่านอนหงายบนเตียงที่จัดเตรียมไว้ เจ้าหน้าที่จะนำชั้วไฟฟ้ามาติดตามตำแหน่งต่างๆ เช่น ที่ข้อมือ เท้า และหน้าอก หลังจากนั้นเครื่องจะประมวลผลเป็นกราฟคลื่นหัวใจ เมื่อเสร็จสิ้นการตรวจเจ้าหน้าที่จพนำขั้วไฟฟ้าออก โดยเวลาที่ใช้ในการตรวจประมาณ 5-10 นาที 

 

 

ข้อมูลที่ได้รับจากการตรวจ

 

  • อัตราการเต้นของหัวใจ
     
  • จังหวะการเต้นของหัวใจ
     
  • การนำกระแสไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือการนำไฟฟ้าผิดปรกติ
     
  • เคยเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
     
  • อาจจะพบลักษณะคลื่นหัวใจที่แสดงถึงเส้นเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อตีบตัน
     
  • กล้ามเนื้อหัวใจหนา กล้ามเนื้อหัวใจโต ห้องหัวใจโต
     

 

 

ข้อจำกัดของการตรวจ 

 

  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจสามารถแสดงอัตราการเต้นของหัวใจ จังหวะการเต้นของหัวใจ ขณะทำการตรวจเท่านั้น ดังนั้นความผิดปกติที่เกิดขึ้นบางชนิดที่เป็นแค่บางช่วงเวลาการตรวจชนิดนี้อาจจะไม่สามารถตรวจพบได้
     
  • ผู้ป่วยที่เป็นโรคเส้นเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจตีบตัน ความผิดปกติของหัวใจอื่นๆ อาจจะพบคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นปกติได้
     
  • เมื่อพบว่าคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติไม่ได้แปลว่าผู้ป่วยมีความผิดปกติของหัวใจจริง จนกว่าจะได้รับการตรวจทางหัวใจชนิดอื่นๆเพิ่มเติมโดยชนิดการตรวจเพิ่มเติมที่แพทย์ส่งตรวจนั้นขึ้นกับความผิดปกติที่ตรวจพบได้จากการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
     

 

 

การเตรียมตัวก่อนการตรวจและการดูแลหลังการตรวจ 

 

  • ไม่ต้องงดน้ำและอาหารมาก่อนการตรวจ
     
  • ผู้รับการตรวจควรสวมเสื้อผ้าที่สามารถถอดหรือเปิดบริเวณหน้าอกได้ง่ายเพื่อความสะดวก
     
  • การตรวจใช้เวลาประมาณ 5-10 นาที
     

 

 

ขั้นตอนการตรวจ 

 

  • แพทย์จะให้ผู้ป่วยนอนบนเตียงราบ
     
  • เจ้าหน้าที่จะทำการติดแผ่นขั้วคลื่นไฟฟ้าหัวใจ แล้วเครื่องจะประมวลผลออกมาเป็นคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
     

 

 

สนับสนุนข้อมูลโดย พญ.ณหทัย ฉัตรสิงห์ 

แพทย์เฉพาะทางอายุรศาสตร์โรคหัวใจ