การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ Pacemaker Implantation

การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (Pacemaker Implantation) คืออะไร 

 

การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ คือการฝังเครื่องบริเวณหน้าอก เพื่อช่วยให้หัวใจเต้นได้เป็นจังหวะปกติ โดยทั่วไปใช้ในคนที่หัวใจเต้นช้า หรือมีการนำไฟฟ้าผิดปกติในห้องหัวใจ   

 

 

การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ มีข้อดีอย่างไร 

 

  • ช่วยลดอาการจากการที่หัวใจเต้นช้า หรือหยุดเต้น ได้แก่ เหนื่อยง่าย หน้ามืด เป็นลม
     
  • ช่วยในการควบคุมจังหวะหัวใจผิดปกติที่ซับซ้อน เช่น มีทั้งภาวะหัวใจเต้นผิดปกติแบบช้า และเร็วร่วมกัน
     

 

 

ขั้นตอนการใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ 

 

  • ใส่สายกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (Leads) เข้าไปในห้องหัวใจผ่านทางเส้นเลือดดำใหญ่
     
  • ติดเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (Pulse Generator) เข้ากับสายกระตุ้น
     
  • ฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจไว้ใต้ผิวหนังบริเวณหน้าอก
     

 

 

การทำงานของเครื่องเป็นอย่างไร 

 

เครื่องจะตรวจการส่งสัญญาณไฟฟ้าในหัวใจ ถ้าพบว่ามีการนำไฟฟ้าที่ช้ากว่าปกติ หรือนำไฟฟ้าติดขัดรุนแรง เครื่องจะกระตุ้นเพื่อให้หัวใจบีบตัวได้ปกติตามที่ควรจะเป็น เครื่องจะมีการบันทึกในกรณีเต้นเร็วผิดปกติไว้ด้วย เพื่อช่วยในการติดตามดูแลต่อเนื่องในระยะยาว   

 

 

เมื่อใส่แล้วมีความเสี่ยงหรือภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นหรือไม่ 

 

ในระยะสั้นหลังใส่ แผลบริเวณใส่เครื่องอาจมีอาการบวมช้ำ ติดเชื้อได้ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือดร่วมด้วย สายมีการเลื่อน หรือหลุดออกจากตำแหน่งได้ (พบได้น้อย)   

 

 

การปฏิบัติตัวภายหลังการใส่เครื่อง พบแพทย์เพื่อติดตามการทำงานของเครื่อง และแผลผ่าตัด ช่วงแรกจะนัดประมาณ 2 สัปดาห์  3 เดือน หลังจากการทำงานของเครื่อง และแผลปกติ จะนัดติดตามอาการทุก ๆ 6 เดือน หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้แหล่งที่มีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแรงสูง เช่น ลำโพงตัวใหญ่ เสาไฟฟ้าแรงสูง หรือเครื่องตรวจวัตถุที่ท่าอากาศยาน รีบพบแพทย์หากบริเวณแผลที่ใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ มีอาการปวด บวม หรือมีอาการที่สงสัยเกิดจากการทำงานของเครื่องผิดปกติ     

 

สนับสนุนข้อมูลโดย พญ.ณหทัย ฉัตรสิงห์ 

แพทย์เฉพาะทางอายุรศาสตร์โรคหัวใจ  

 

คลิก > โปรแกรมตรวจสุขภาพหัวใจ