โรคผิวกระดูกอ่อน ลูกสะบ้าเข่าอักเสบ

อาการเจ็บ 

 

  • เสียวเข่าที่พบเจอได้ทุกวัย, ปวดเข่า
     
  • เข่ามีเสียงเวลาขึ้นลงบันได  

 

สัญญาณบ่งบอกอาการ เข่าเสื่อม โรคผิวกระดูกอ่อนลูกสะบ้าเข่าอักเสบ “อีกโรคปวดเข่ายอดฮิตของคนหนุ่มสาวและวัยกลางคน ที่เป็นจุดเริ่มต้นของเข่าเสื่อมตอนอายุเกิน 50”   

 

 

  

 

 

โรคผิวกระดูกอ่อนลูกสะบ้าเข่าอักเสบ เป็นกลุ่มอาการ ปวด-เสียว-แปล๊บ-เจ็บ ที่บริเวณหน้าเข่า ที่เรียกว่า patellofemoral pain syndrome โดยเกิดรอยโรคที่ใต้ลูกสะบ้า (Patellar) แพทย์บางท่านจะแปล และบอกคนไข้ว่าโรคผิวสะบ้านิ่ม หรือ Chondromalacia patellae หรือ ผิวลูกสะบ้าเสื่อม หรือ เริ่มเสื่อม ก็คงแล้วแต่จะเเปลความหมาย ตามรากศัพท์กันไปเพื่อให้คนไข้เข้าใจมากขึ้นนั้นเอง   โรคผิวสะบ้าอักเสบนี้ พบได้บ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ประมาณ 2-3 เท่า อายุที่พบได้บ่อยคือ วัยกลางคน 20 - 40 ปี และนักกีฬาบางรายที่ออกกำลังไม่ถูกวิธี ซึ่งพยาธิสภาพของโรคนี้ เกิดที่บริเวณผิวข้อ (Cartilage) ใต้กระดูกลูกสะบ้า   อาการของโรค ผู้ป่วยจะมีอาการเสียว ปวด เจ็บหรือแค่รู้สึกแปล๊บๆในรายทีอาการไม่มาก โดยจะเป็นบริเวณหน้าเข่าหลายรายมีอาการเสียงดังในเข่าร่วมด้วย อาการที่พบในชีวิตประจำวันมากที่สุดคือจะมีอาการเจ็บ เสียว

 

1. เวลาขึ้นลงบันไดอาการจะมากหรือน้อยก็ขึ้นกับโรคว่าเป็นแผล หรือผิวลูกสะบ้าอักเสบมากหรือน้อย
 

2. เวลานั่งอยู่ในรถแล้วลุกลงจากรถหรือนั่งนานๆแล้วลุกเปลี่ยนท่า
 

3. นั่งยองๆทำกิจกรรมต่าง หรือนั่งเก้าอี้นั่งเตี้ยๆ แล้วจังหวะลุกขึ้นจะเจ็บเสียว
 

4. นั่งพับเพียบหรือ ขัดสมาธิ
 

 

 

โดยสรุปจะมีอาการตอนที่เข่าอยู่ในจังหวะงอ งอเท่าไหร่  โดยส่วนใหญ่อยู่ที่การ งอเข่ามากกว่า 90 องศา พองอเข่าได้สักพักแล้วเหยียดเข่าในท่าลุกขึ้นทันทีจะมีอาการเสียว เนื่องจากมีแรงกระทบไปที่ใต้ลูกสะบ้ามากขึ้นนั้นเอง การเดินทางราบอาการเจ็บจะไม่มากหรืออาจไม่มีอาการ โดยรวมแล้วอาการปวดมักไม่มาก ไม่รุนแรง คนไข้มักทนได้ มีอาการแค่เพียงเสี่ยววินาทีที่เจ็บเสียว จะปวดลักษณะรำคาญ คนไข้จะรู้สึกเป็นเรื้งรังจัง เป็นหลายเดือน หลายสัปดาห์แล้วไม่หายสักทีจนหลายคนพลานวิตกจริตคิดว่า เข่าจะเสื่อมแล้วใช่ไหม คำตอบคือ โรคนี้ก็เป็นสาเหตุหนึ่งได้ที่จะพัฒนะไปเป็นเข่าเสื่อมได้ในอนาคต ตอนอายุเริ่มมากขึ้น ถ้าไม่รักษา​ จากปวดน้อยก็อาจมีปวดเสียวมากในบางวัน หากมีอาการกำเริบก็จะปวดมากขึ้นเป็นบางครั้งได้ แต่จะมีอาการบวม ร้อนที่เข่าเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย   

 

 

อธิบายประกอบภาพ รูปซ้าย : แสดงข้อเข่าปกติ และผิวข้อกระดูกอ่อน (Cartilage) ของลูกสะบ้าด้านใน เวลาพลิกออกให้ดูชัดๆ ก็ปกติ ผิวเรียบไม่ขุรขระ ผิวไม่เรียบมีขุรขระ ดูอักเสบและแดง

  

รูปขวา : แสดงข้อเข่าที่มีรอยโรคผิว cartilage เริ่มนิ่ม เริ่มเสื่อม ผิวไม่เรียบมีขุรขระ ดูอักเสบและแดง

 

 

√ เช็คอาการ ปวดเข่า เข่ามีเสียง สัญญาณ “ข้อเข่าเสื่อม” 

 

1. รู้สึกปวดเข่า โดยเฉพาะเวลางอเข่าหรือเมื่ออากาศเย็นๆ
 

2. รู้สึกปวดเข่า เวลาขึ้นลงบันได วิ่ง หรือ กระโดด
 

3. ได้ยินเสียงก๊อกแก๊กเวลางอเหยียดเข่า
 

4. รู้สึกปวดเข่ามากขึ้นเมื่อนั่งพับเพียบ นั่งยองๆ หรือนั่งในท่าที่เข่างอมากๆ
 

 

 

 

โรคนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร? โรคนี้จะเกิดขึ้นได้อย่างไรนั้น มี 3 ทฤษฎี ที่พอจะอธิบายการเกิดของโรคได้ ดังนี้ 

 

1. ท่านั่งที่พับเข่า หรือชันเข่า

 

  • นั่งกับพื้น หรือมีการงอเข่าเกินมุม 90 องศา นานไป มีการนั่งที่ไม่ถูกลักษณะ
     
  • รวมถึงใช้งานมาก เดินมากไป ยืนนานไป ทำให้เข่าอยู่ในลักษณะที่เข่ารับแรงกระแทกนานไป นานเท่าไหร่ไม่มีใครศึกษาไว้ บางคนไข้นั่งงอเข่านานแค่ 5 นาที ลุกขึ้นมาก็มีอาการไปหลายเดือนหลายสัปดาห์ 

  

1. กล้ามเนื้อรอบเข่าไม่แข็งแรง ไม่กระชับ เราทั่วไปมักคิดว่ากล้ามเนื้อเข่าก็ดูปกติ ไม่ได้ดูไม่แข็งแรงตรงไหน

 

2. อุบัติเหตุมีการบาดเจ็บที่ผิวสะบ้

 

    

 

 

เมื่อท่านมาพบแพทย์ 

  • แพทย์จำเป็นต้องซักประวัติการใช้งานข้อเข่า ว่าในชีวิตประจำวันมีนั่งผิดท่านั่งพับเข่าไหม ? - ขึ้นลงบันไดมากไปไหม ? - เดินหรือยืนนานไปไหม ? 
     
  • แพทย์จะตรวจลูกสะบ้า กดลูกสะบ้าเพื่อจำลองแรงที่กดที่กระทำต่อผิวข้อ (Patellar grinding test)

 

(การตรวจเทสนี้คนไข้อาจรู้สึกเจ็บบ้าง ถ้าคนไข้มีอาการมานาน หรืออายุมากเกินวัยกลางคนแล้ว เช่น อายุมากกว่า 50 ปี, มีแนวเข่าแนวขาที่เริ่มผิดปกติ เช่น ขาเริ่มโก่งเข้าใน โก่งออกนอก)    

 

             

แหล่งภาพได้มาจาก : medisavvy.com/patellofemoral-grind-test

  

  • แพทย์อาจขอ Film X-ray เบื้องต้นดู แต่ถ้า X-ray ไม่พบอะไรผิดปกติ หรือลองรักษาแล้ว นัดมาดูอาการแต่อาการไม่ดีขึ้น แพทย์อาจขอให้ทำ MRI เพื่อดูให้ละเอียดถึงผิวกระดูกอ่อน (Cartilage lesion)  
     

 

 

วิธีการรักษา โรคผิวกระดูกอ่อนลูกสะบ้าเข่าอักเสบ” เกือบทั้งหมด สามารถรักษาด้วยวิธีการไม่ผ่าตัด จากสถิติมีแค่ส่วนน้อยมากของคนไข้โรคนี้ที่ต้องผ่าตัด เมื่อได้ข้อมูลอย่างนี้ผู้ที่มาอาการของโรคนี้ไม่ต้องกลัว วิธีง่ายๆในการรักษาโรคนี้คือ   

 

1. ปฎิบัติตามแพทย์แนะนำในการนั่ง/ยืน ให้ถูกวิธี หลีกเลี่ยงท่าทางที่ทำให้แรงที่ ไปกดสะบ้าสูงขึ้นได้อย่างไร เช่นห้ามการนั่งคุกเข่า นั่งพับเพียบ ขัดสมาธิ และนั่งยองๆ
 

2. การออกกำลังกายบริหารกล้ามเนื้อรอบเข่าเพื่อให้เข่ากระชับแข็งแรงขึ้น เพื่อให้การเสียดสี และแรงกดที่เข่าจะได้ลดลง โดยกล้ามเนื้อรอบเข่ามัดหลัก   มี 4 มัด คือ มัดหน้าเข่า-มัดหลังเข่า-มัดด้านในเข่า-มัดด้านนอกเข่า ให้ทำการบริหารทุกวันๆ ละ 2-3 ครั้งๆ ละประมาณ 5-10 นาที
 

3. การใช้อุปกรณ์พยุงเข่าในระยะระหว่างที่มีอาการปวดเข่า เช่น ตอนวิ่ง ยืน หรือเดินนานๆ
 

4. รักษาด้วยการรับประทานยาเพื่อลดอาการปวดและการอักเสบเมื่อจำเป็น โดยควรปรึกษาแพทย์
 

5. รักษาด้วยการทานยาบำรุงข้อกลุ่ม Glucosamine และ หรือDiacerein หรืออาจรวมการฉีดยาน้ำมันข้อเข่าเทียม ด้วยเพราะในบางรายอาการผิว
 

 

กระอ่อนลูกสะบ้าเข่าอักเสบนั้นเป็นมากขึ้นจนเกิดอาการผิวข้อเริ่มเสื่อมตามมา  แต่ก็มีการออกกำลังกายบางอย่าง ที่เป็นการบริหารกล้ามเนื้อเข่าให้แข็งแรง แต่กลับบริหารไม่ถูกวิธี หรือทำมากไป จะทำให้อาการปวดเข่าจาก โรคผิวประดูกอ่อนลูกสะบ้าเข่าอักเสบ กำเริบและเป็นมากขึ้น คือ -  การออกกำลังกายด้วยการปั่นจักรยาน -  การบริหารโดยการทำท่า Squad -  การออกกำลังกายโดยการวิ่งขึ้นวิ่งลงบันได การทำสก็อตจัมพ์   การออกกำลังเหล่านี้หมอพบคนไข้มาปรึกษาด้วยอาการปวดเข่าได้บ่อย หากการรักษาขั้นต้นไม่ดีขึ้น (ซึ่งพบได้น้อยที่จะไม่ดีขึ้น ) แพทย์อาจพิจารณาการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด แพทย์จะไม่แนะนำวิธีนี้ ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ เนื่องจากผลการรักษาในกรณีไม่พบสาเหตุแน่ชัด จะทำให้ผลการผ่าตัดไม่ดีนัก การผ่าตัดแบ่งเป็น 2 วิธี คือ

 

1. การผ่าตัดส่องกล้องเพื่อทำความสะอาดแต่งผิวสะบ้าให้เรียบ รวมถึงการเจาะกระดูกเพื่อให้มีการซ่อมแซม

 

2. การผ่าตัดจัดตำแหน่งลูกสะบ้าให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ในกรณีที่มีปัญหาลูกสะบ้าอยู่ไม่ถูกตำแหน่ง

 

 

การป้องกัน  การป้องกันโรคนี้ดีกว่าการแก้ปัญหาอย่างแน่นอน ซึ่งสามารถทำได้ตั้งแต่ยังไม่มีอาการ และมีวิธีป้องกัน ดังนี้ 

 

1. จัดท่านั่ง ท่านอน ยืน เดิน ให้ถูกวิธี ไม่อยู่ในท่าพับเข่า หรืองอเข่าเกินมุม 90 องศา ที่ทำให้มีแรงกระทบและเสียดสีผิวกระดูกอ่อนลูกสะบ้า
 

2. การฝึกฝนกล้ามเนื้อรอบเข่าให้แข็งแรง และทำบริหารเป็นประจำการทำบริหารแค่ 2-3 สัปดาห์ คงไม่ทำให้อาการหายไป เพราะกล้ามเนื้อไม่แข็งแรงพอ   ต้องทำมากกว่า 3 เดือนขึ้นไปถึงจะเริ่มเห็นผล โดยทำประจำทุกวัน
 

3. การลดน้ำหนักให้เหมาะสมกับร่างกาย
 

4. การออกกำลังกายอย่างถูกวิธี มีการยืดกล้ามเนื้อ ก่อนและหลังเล่นกีฬา
 

ผู้ที่สนใจท่าบริหารเข่า และ VDO การบริหารเข่า 4 มัดหลักที่ถูกวิธี และความรู้เรื่องการดูแลเข่า สามารถติดตามได้จาก Website : Jirantanin.com หรือที่ช่องทาง YouTube Channel : Dr.Jirantanin Orthopaedic 

 

 

 

สนับสนุนข้อมูลโดย : พ.ต.อ.นพ.จิรันธนิน รัตนวารินทร์ชัย    

ศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกและข้อ, ผ่าตัดส่องกล้องข้อไหล่ - ข้อเข่า ศูนย์กล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ  (Musculoskeletal Center)